***สวัสดีครับ ท่านที่สนใจสินค้าของทางร้านทุกรายการสามารถโทรสอบถามได้ที่ 0818299638 ***
คำว่า“มันดาลา”มาจากภาษาสันสกฤต “มันดา (manda)” แปลเป็นภาษาทิเบต ตรงกับคำว่า “dkyil” ซึ่งหมายถึง “แก่นศูนย์กลางหรือที่นั่ง” โดยใช้ในความหมายควบคู่ไปกับคำว่า “โพธิ” หรือการตื่น การบรรลุธรรม ซึ่งชี้ถึงสถานที่นั่งภายใต้ต้นโพธิ์ ที่ซึ่งการตรัสรู้อย่างสมบูรณ์ได้เกิดขึ้น ส่วนคำว่า“ลา(la)”หมายถึง “วงล้อที่หลอมรวมแก่น” ดังนั้น “มันดาลา” จึงแปลว่า “ที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ต่างๆในขณะที่รู้แจ้ง” และภาพเหล่านี้จะปรากฏในมโนทัศน์ของวัชราจารย์(ครูบาอาจารย์ในพุทธศาสนานิกายวัชรยาน) สำหรับคนไทยเราเรียกคำว่ามันดาลาเป็นสำเนียงไทยว่า“มณฑล”นั่นเอง ซึ่งก็มีความหมายสอดคล้องกัน ในทางคัมภีร์แล้ว ทิเบตถือว่าทุกชีวิตก็คือมันดาลา มากกว่าจะเป็นเพียงแค่จุดของการตระหนักรู้ เพราะเราก็คือสิ่งแวดล้อมของเราเอง อาจกล่าวได้ว่า มันดาลาก็เปรียบเหมือนกับพิมพ์เขียวสำหรับการบรรลุธรรม ที่ไม่ใช่เพียงแต่เป็นการปลดปล่อยตนเองสู่อิสรภาพที่แท้จริงเท่านั้น แต่ยังเป็นการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับสภาวะแวดล้อม โดยทั่วไปมันดาลามักจะสร้างเป็นวิหารที่มีประตู 4 ทิศ ซึ่งแต่ละทิศจะแสดงถึงพรหมวิหารทั้ง 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา และก่อนที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะเดินเข้าประตูได้นั้นจะต้องผ่านด่านทดสอบคือกำแพง 4 ชั้น ซึ่งประกอบไปดัวย 1.กำแพงไฟแห่งความรู้อันบริสุทธิ์ 2.กำแพงเพชรแสดงความแข็งแกร่งและกล้าหาญ 3.กำแพงหลุมศพแห่งการมีสติรู้ 4.กำแพงดอกบัวแสดงถึงการยอมอุทิศตนต่อพุทธะ
ภาพที่นำเสนอขนาด 16x20 นิ้วครับ
สินค้าในสต๊อก : 0 ชิ้น
ระยะเวลาการขาย : จนกว่าของจะหมด